MotoGP
ReadyPlanet.com
dot
bulletตะกร้าสินค้า NEW..!!
bulletแจ้งชำระเงิน NEW ..!!
bulletสาระน่ารู้ บริจาคโลหิต
bulletMP3 Radio Spot
dot
SELECT LANGUAGE
dot
bulletEnglish
bulletJapanese
bulletChinese
bulletVietnamese
bulletIndonesian
dot
ข้อมูล รถจักรยานยนต์ ฮอนด้า
dot
bulletHONDA ECO STICKER
bulletHONDA CATALOG แค็ตตาล็อก
bulletHONDA รหัส ชุดสี สติ๊กเกอร์
bulletHONDA คู่มือผู้ใช้รถ ทุกรุ่น
bulletHONDA คู่มืออบรมรถใหม่
bulletHONDA ราคาพิเศษ
bulletHONDA รีวิว และ ทดสอบ
bulletHONDA วิธีดู รุ่นใหม่ รุ่นเก่า
dot
ฮอนด้า รุ่นที่ผลิต ขาย ณ.ปัจจุบัน
dot
bullet26/03/2024 GIORNO+ NEW
bullet01/02/2024 PCX160 e-HEV
bullet01/02/2024 NEW FORZA 350
bullet01/02/2024 ADV 350
bullet01/02/2024 CLICK 160 150
bullet04/01/2024 NEW WAVE125 I
bullet12/12/2023 MSX125 GROM
bullet28/11/2023 NEW REBEL 300
bullet22/11/2023 CB150R
bullet13/11/2023 CBR150R
bullet02/11/2023 SCOOPY
bullet23/09/2023 SUPER CUB NEW
bullet25/05/2023 CBR250RR SP
bullet08/04/2023 WAVE110 I
bullet22/03/2023 ADV 160 Limited
bullet15/03/2023 CL300
bullet18/10/2022 CRF300L 2022
bullet11/11/2022 CLICK125 I
bullet09/08/2022 CB300R
bullet19/04/2022 NEW LEAD 125
bullet0X/0X/202X BENLY e:
bullet24/03/2021 CT125 สีเขียวใหม่
bullet11/11/2020 CRF300 RALLY
bullet08/05/2019 ZOOMER X
bullet16/10/2017 CBR300R
bulletMOTOR SHOW 2021
bulletHONDA BIG BIKE
bulletรถมือสอง ฮอนด้า เกรด A
bulletรถมือสอง ฮอนด้า ราคากลาง
bulletService บริการหลังการขาย
bulletจำหน่าย ประกัน พรบ.
dot
รถแต่ง ตกแต่ง ฮอนด้า
dot
bulletรถแต่ง ฮอนด้า PCX 160 125
bulletรถแต่ง ฮอนด้า GROM
bulletรถแต่ง ฮอนด้า CT125
bulletรถแต่ง ฮอนด้า ADV 150
bulletรถแต่ง ฮอนด้า Super Cub
bulletรถแต่ง ฮอนด้า MSX125
bulletรถแต่ง ฮอนด้า FORZA 300
bulletรถแต่ง ฮอนด้า สกู๊ปปี้ไอ
bulletรถแต่ง ฮอนด้า คลิ๊กไอ
bulletรถแต่ง ฮอนด้า ซีแซดไอ
bulletรถแต่ง ฮอนด้า ไอคอน
bulletรถแต่ง ฮอนด้า แอร์เบลด
bulletรถแต่ง ฮอนด้า คลิ๊ก
bulletรถแต่ง ฮอนด้า เวฟ
bulletรถแต่ง ฮอนด้า โซนิค
bulletรถแต่ง Transformers
bulletรถแต่ง มอเตอร์โชว์ 49 - 50
bulletHONDA Bigbike
bulletHONDA Racing ตกแต่ง
dot
อะไหล่แท้ ตกแต่ง ฮอนด้า
dot
bulletHONDA PROTECH ULTRA
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง GIORNO+
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CL 300
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง H2C 10 ปี
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CLICK 160 i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง FORZA 350
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง LEAD 125
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง PCX 150 160
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CRF300L
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง SCOOPY
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง MSX GROM
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง Super Cub
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง ADV 150
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CB150F
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง Rebel 300
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง Zoomer X
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CLICK125i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง MOOVE
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง Sh150i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง สกู๊ปปี้ 2012
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง SPACY i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง WAVE125i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง DREAM110i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CBR
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง สกู๊ปปี้ ไอ
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง คลิ๊ก ไอ
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง แอร์เบลด
bulletหมวกกันน็อค Helmet
bulletเลือก ตกแต่ง สไตส์คุณ
dot
คอลเลคชั่น ฮอนด้า
dot
bulletคอลเลคชั่น ฮอนด้า 2020
bulletมอเตอร์ไซค์จำลอง 1:18
bulletคอลเลคชั่น CBR150R-250R
bulletASIMO อาซิโม ฮอนด้า
dot
ตัวแทนจำหน่าย
dot
bulletโช้ค YSS Suspension
bulletล้อแม็กซ์ ไดอิจิ
bulletฮักเกอร์ HUGGER
dot
ข่าวสำคัญ ฮอนด้า
dot
bulletฮอนด้าคลับ Honda Club
bulletClip VDO Honda
bulletข่าวสาร จักรยานยนต์
bulletลุ้นโชคกับ ฮอนด้า
bulletตรวจสอบ ไปรษณีย์ EMS
bulletรวมลิงค์ + พันธมิตรลิงค์
bulletแลกลิงค์ พันธมิตร


ตรวจสอบ ราคาอะไหล่รถจักรยานยนต์ฮอนด้า ทุกรุ่น
ลงทะเบียนรับประกันคุณภาพ HONDA
คำนวณ ค่างวด เงินผ่อน ดอกเบี้ย
วีดีโอ รถจักรยานยนต์ ฮอนด้า Video Motorcycle HONDA


รอบรู้ MotoGP
โมโตจีพี ฤดูกาล 2021 เรปโซล ฮอนด้า ยอดทีมแข่งชั้นนำระดับโลก เปิดตัวสองดาวบิดในสังกัด 
นำโดย มาร์ค มาร์เกซ เจ้าของแชมป์โลก 8 สมัย ควงคู่ โพล เอสปาร์กาโร่ ทีมเมทคนใหม่ชาวสแปนิช 
พร้อมด้วยเรซแมชชีน Honda RC213V เวอร์ชันล่าสุด เตรียมผนึกกำลังไล่ล่าแชมป์โมโตจีพี ประจำปี 2021
ความเคลื่อนไหวศึกรถจักรยานยนต์ทางเรียบระดับเวิลด์กรังปรีซ์ รายการ โมโตจีพี ฤดูกาล 2021 
แฟนมอเตอร์สปอร์ตทั่วโลกต่างเฝ้ารอการเปิดตัวสุดยอดทีมแข่งโรงงานอย่าง เรปโซล ฮอนด้า 
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เวลา 18:00 น. ตามเวลาในไทย
สำหรับสองนักบิดหลักประจำทีม ยังคงนำทัพด้วยแชมป์โลก 8 สมัย มาร์ค มาร์เกซ 
ยอดนักบิดสแปนิช หมายเลข 93 ที่กำลังเข้าโปรแกรมฟื้นตัวรักษาอาการบาดเจ็บที่ต้นแขนขวา 
เพื่อเตรียมความพร้อมให้ร่างกายกลับมาอย่างแข็งแกร่งที่สุด ตามด้วยการเสริมทัพทีมเมทคนใหม่อย่าง 
โพล เอสปาร์กาโร่ หมายเลข 44 ยอดนักบิดสัญชาติเดียวกัน เจ้าของแชมป์โลก โมโตทู ปี 2013 
ที่จะร่วมผนึกกำลังกับสุดยอดเรซแมชชีน Honda RC213V เวอร์ชันปี 2021 
เพื่อสานต่อความสำเร็จให้กับเรปโซล ฮอนด้า สำหรับการแข่งขันในฤดูกาลนี้
มาร์เกซ กล่าวว่า “ถือเป็นเรื่องที่ดีมากที่ได้สวมเรซซิ่งสูทเคียงคู่รถแข่งของตัวเองอีกครั้ง ในปี 2020 
ที่ผ่านมา เป็นปีที่ยากลำบากของทุกคน โดยเฉพาะตัวผมเองที่ได้รับบาดเจ็บและต้องชมการแข่งขันอยู่ในบ้านพัก 
ซึ่งผมก็พยายามทำงานร่วมกับทีมแพทย์เพื่อฟื้นตัวและหวังคัมแบ็กสู่โมโตจีพีให้เร็วที่สุด 
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการเชื่อฟังคำแนะนำของหมอ เช็กร่างกายของตัวเองจนกว่าจะสมบูรณ์พร้อมที่สุด”
เอสปาร์กาโร่ กล่าวว่า “การได้ร่วมงานกับสุดยอดทีมแข่งเรปโซล ฮอนด้า 
ถือเป็นความฝันของนักบิดและเป็นความภาคภูมิใจอย่างแท้จริง ในช่วงที่ผ่านมาผมเฝ้าคิดถึงการได้ขับขี่ 
Honda RC213V ครั้งแรกที่กาตาร์ นี่คือความตื่นเต้นที่ผลักดันให้ผมฝึกฝนและพัฒนาความสามารถของตัวเอง 
เพื่อเป้าหมายทำผลงานให้ดีที่สุด และมุ่งสู่ความสำเร็จสำหรับการชิงตำแหน่งแชมป์โลกในปี 2021”
 
 
 
 
 
 
 
 

******************************************************************************

 

 

 

 

 

 

4 เหตุผลที่ทุกคนไม่ควรพลาดชม MotoGP™ 2020!

การแข่งขันมอเตอร์ไซค์ทางเรียบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก MotoGP™ 2020

>> แข่งกันจุใจทั้งหมด 20 สนาม : ปีนี้คือปีแรกที่จะแข่งขันกันทั้งหมด 20 สนามตลอดหนึ่งฤดูกาล

โดยสนามที่ถูกเพิ่มเข้ามาคือสนาม KymiRing ในประเทศฟินแลนด์

>> ThaiGP เลื่อนความมันส์มาเร็วขึ้น : แฟนชาวไทยทุกคนต้องเตรียมตัวกันให้ดีๆ เพราะปีนี้ ThaiGP

ถูกใช้เป็นสังเวียนเแข่งขันสนามที่ 2 ของฤดูกาล ซึ่งขยับขึ้นมาเร็วขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 7 เดือน

แต่รับรองว่าความมันส์ไม่เปลี่ยนแปลงแน่นอน

>> คู่พี่น้อง Marquez จะได้บิดเคียงข้างกันเป็นครั้งแรก : ปีนี้ถือเป็นปีแรกที่เราจะได้คู่พี่น้องมาร์เกซอย่าง

“มาร์คและอเล็กซ์” ได้บิดร่วมกันในทีมเดียวกัน งานนี้ทั้งคู่น่าจะจัดเต็มแบบไม่มีกั๊ก

และไม่มีคำว่าพี่น้องบนสนามแน่นอน ถือว่าเป็นกำไรของคนดูอย่างพวกเราจริงๆ

>> ลุ้นมาร์เกซให้ป้องกันแชมป์และสร้างสถิติใหม่ : อีกหนึ่งความสนุกในศึก MotoGP™

ก็คือการลุ้นว่ามาร์ค มาเกซจะทำลายสถิติอะไรใหม่ๆ หรือมีอะไรให้ได้ว้าวกันอีกบ้าง

และที่สำคัญคือลุ้นว่ามาร์คจะป้องกันแชมป์ได้สำเร็จหรือไม่

Marc Márquez Marc Márquez Marc Márquez

รู้หรือไม่ ? “เด็กระเบิด” Marc Márquez 
คือเจ้าของสถิติสุดโหดในการเทได้โค้ง 67 องศาระหว่างการแข่งขันศึก MotoGP™ 2019 
สนามที่ 8 ณ TT Circuit Assen ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นจังหวะที่ Márquez 
ควบมาด้วยความเร็วกว่า 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง และกำลังจะเข้าโค้งแต่ล้อหน้า
ของรถดันเกิดไถลจนเสียจังหวะและเกือบจะล้มลง แต่ด้วยความเทพของเจ้าตัว
จึงสามารถดันรถขึ้นมาและบิดต่อไปได้อย่างสบายเหมือนไม่อะไรเกิดขึ้นเลย ซึ่งกล้องหลังรถ
สามารถจับภาพได้ระหว่างการเทโค้งของ Marc Márquez 
ที่เอียงลงไปถึง 67 องศาจนเกือบจะแนบพื้นเลยทีเดียว
 
 
 
วันนี้เราจะมาเปิดปฏิทินการแข่งขัน MotoGP™ ของปี 2019 ว่าปฏิทินในฤดูกาลหน้ามีรายละเอียด วันใด ที่ไหน
พร้อมบทวิเคราะห์ความเด็ดในแต่ละสนาม รับรองว่าดุเดือดและน่าติดตามไม่แพ้ฤดูกาลที่ผ่านมาแน่นอน

หลังจากสมาพันธ์รถจักรยานยนต์นานาชาติ หรือ เอฟไอเอ็ม เผยปฏิทินการแข่งขัน MotoGP™ 2019 ออกมา
ความดุเดือดในวงการนักบิด Motorsport ก็ปะทุขึ้น เราตามมาดูกันว่าปฏิทินการแข่งขันปี 2019
จะเริ่มต้นฤดูกาลด้วยสนามใด

สนาม 1 : Losail International Circuit ประเทศกาตาร์ (QATAR GP) : 10 มีนาคม 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Losail International Circuit อยู่บนภูมิประเทศที่เป็นทะเลทราย ทำให้สภาพอากาศ
มีความร้อนสูง ส่งผลให้สนามนี้เป็นสนามหนึ่งเดียวของ MotoGP™ ที่มีการแข่งขันในเวลากลางคืน
ซึ่งจัดเป็นสนามแบบ Night Race ที่สร้างระบบมาเพื่อรองรับการแข่งขันในช่วงเวลานี้
และความแตกต่างนี้เองทำให้ตัวนักแข่งต้องเตรียมตัวให้พร้อมเป็นอย่างมาก ซึ่งนี่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นฤดูกาล
ที่ท้าทายมากเลยทีเดียว

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 10 หักซ้ายเกือบ 90 องศา ด้วยลักษณะโค้งต้องใช้ความกล้าและสมาธิสูง 
โค้งนี้ถือเป็นโค้งแห่งการแซงของเหล่านักแข่ง ต่อมาคือโค้งที่ 16 โค้งสุดท้ายชี้ชะตา
ก่อนจะได้เปิดคันเร่งเต็มกำลังกับทางตรงข้างหน้าก่อนเข้าเส้นชัย

สนาม 2 : Termas de Río Hondo Circuit ประเทศอาร์เจนตินา (ARGENTINA GP) : 31 มีนาคม 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Termas de Río Hondo Circuit เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2008 โดยในปี 2014 
มีการปรับให้ทันสมัยมากขึ้นให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน สนามแห่งนี้ความท้าทายอยู่ที่ความสมบูรณ์ของสนาม 
การผสมผสานที่สามารถอัดอัตราเร่งได้ถึงขีดสุด เหยียบให้ถึงท็อปสปีด 
และทำไฮสปีดในโค้งได้ภายในสนามเดียวจึงทำให้นักแข่งหลายคนหลงรักสนามในความสมบูรณ์นี้

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 3 โค้งยูเทิร์นที่มีความลาดเล็กน้อยซึ่งเป็นจุดอันตราย นักแข่งจะใช้โค้งที่ 2 
เป็นตัวช่วยส่งแรงเหวี่ยงให้ผ่านยูเทิร์น หากใครคำนวณพลาดอาจเกิดการหลุดโค้งได้

สนาม 3 : Circuit of the Americas ประเทศสหรัฐอเมริกา (AMERICAS GP) : 14 เมษายน 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Circuit of the Americas นี้ถูกบรรจุในการแข่ง MotoGP™ เมื่อปี 2013 
รูปแบบของสนามได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้เป็นสนามแข่งขันรถ Formula 1 
ทำให้มีโค้งหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะโค้งหักศอกที่มีความโหด และยังมีทางตรงที่มีช่วงระยะทางยาวที่สุด
ในการแข่งขันรายการนี้ด้วย เสน่ห์อีกอย่างของสนามนี้ คือ Grandstand ที่สูง 133 ฟุต ที่ทำให้เหล่าแฟน
ที่มาเชียร์ได้เห็นความสวยงามของสนามและการเปิดฉากการแข่งอันดุเดือดของสนามนี้ได้อย่างเด่นชัด

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 11 เป็นโค้งก่อนทางตรง ซึ่งทางตรงนี้นักแข่งสามารถเร่งความเร็วสูงสุดออกมา
เพื่อฉีกหนีจากนักแข่งคนอื่น ๆ หรือพลิกจากผู้ตามเป็นผู้นำได้

สนาม 4 : Circuit de Jerez ประเทศสเปน (SPANISH GP) : 05 พฤษภาคม 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Circuit de Jerez เป็นสนามที่มีความเป็นมายาวนานกับรายการนี้บรรจุมาตั้งแต่ปี 1985  
และยังเป็นสนามยอดนิยมของเหล่าบรรดาทีมนักแข่งในการทดสอบความเร็ว 
ความยอดนิยมนี้มาจากตัวสนามมีความลาดชันที่น้อย แทร็กมีขนาดกว้าง 
ทำให้สนามนี้เหมาะแก่การฝึกพร้อมรับศึกเพื่อเป็นเจ้าแห่งความเร็ว

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 6 ยูเทิร์นพ้นจากทางตรงที่นักแข่งอัดความเร็วกันมาเต็มเหนี่ยวหากเพลินจากการบิด 
โค้งยูเทิร์นนี้รอปราบเซียนอยู่อย่างแน่นอน

สนาม 5 : Le Mans ประเทศฝรั่งเศส (FRENCH GP) : 19 พฤษภาคม 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Le Mans ความโด่งดังของสนามนี้ คือการแข่งขันกีฬา “The 24 Hours of Le Mans”
เป็นการแข่งขันรถที่ต้องขับด้วยความเร็วสูงต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง วัดประสิทธิภาพความทนทานของตัวรถ
และตัวนักแข่ง ทำให้สนามนี้เป็นอีกหนึ่ง Landmark ที่แฟนจับตามอง สำหรับ MotoGP™ 
ที่นี่ถือว่าเป็นสนามที่ต้องใช้เทคนิคควบคุมเบรกมากกว่าสนามอื่น ๆ เนื่องด้วยตัวสนามที่ประกอบไปด้วย
โค้งที่สุดแสนโหดกว่า 14 โค้ง ที่บังคับให้นักแข่งต้องใช้เทคนิคควบคุมเบรกเพื่อทำเวลาให้ดี 
และมีโค้งตัว S ที่เป็นจุดวัดใจและความสามารถของนักบิด

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 13 และ 14 โค้งแคบและต่อเนื่อง โค้งพลิกโอกาสคว้าชัยชนะให้บรรดาเหล่านักแข่งได้ 
ด้วยตัวโค้งต้องอาศัยจังหวะเข้าโค้งอย่างต่อเนื่องและควบคุมความเร็วในโค้งให้ดี 
เพื่อนำเข้าสู่ทางตรงวัดใจด้านหน้าที่สามารถเปิดคันเร่งของมอเตอร์ไซค์ได้เต็มกำลัง

สนาม 6 : Autodromo di Mugello ประเทศอิตาลี (ITALIAN GP) : 02 มิถุนายน 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Autodromo di Mugello ตั้งอยู่บนเนินเขาเหนือเมืองฟลอเรนซ์ 
ถูกขนานนามว่าเป็นสนามแข่งขันรถมอเตอร์ไซค์ทางเรียบที่สวยงามที่สุด ทั้งด้านทิวทัศน์อันงดงาม 
สภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี และด้านการออกแบบของสนามที่มีโค้งความเร็วสูงและต่ำ 
ทั้งซ้ายและขวาผสานกันอย่างลงตัว ทำให้สนามนี้เป็นอีกหนึ่งสนามที่พลาดไม่ได้ของเหล่าแฟน ๆ 
Motorsport และเหล่าบรรดานักแข่ง

โค้งไฮไลท์ : ระหว่างโค้งที่ 6 และ 7 มีลักษณะทางตรงสั้นเชื่อมกันอยู่ เป็นจุดที่ผู้นำมักถูกแซง 
เนื่องจากลักษณะโค้งถัดไปถูกวางไว้ให้นักบิดต้องชะลอความเร็วเพื่อเตรียมตัวเข้าโค้งต่อไป 

สนาม 7 : Circuit de Barcelona-Catalunya ประเทศสเปน (CATALAN GP) : 16 มิถุนายน 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Circuit de Barcelona-Catalunya ถือเป็นสนามที่ทันสมัยที่สุด
มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย อาทิเช่น ร้านอาหาร ศูนย์สื่อสารต่าง ๆ รวมถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 
ความท็อปฟอร์มของสนามนี้ทำให้นักแข่งหลายคนอยากจะท้าทายคือความสมบูรณ์แบบของตัวสนาม 
มีโค้งแบบไฮสปีด ที่สามารถทำความเร็วในการเข้าและออกโค้งได้อย่างสนุก ได้เปิดคันเร่งอย่างเต็มที่ 
มีโค้งต่อเนื่องหลายจุด ทำให้การเซ็ตอัพตัวรถและยาง จำเป็นต้องเสริมในส่วนของขอบยางมา
เพื่อรองรับการขับขี่ในสนามแห่งนี้

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 3 ต่อเนื่องยาวไปโค้งที่ 4 ตัวโค้งเป็นโค้งยาวสามารถไต่ความเร็วได้อย่างต่อเนื่อง 
ถ้านักแข่งสามารถบิดเข้าโค้งไฮสปีดนี้ได้ เขาจะได้เปรียบผู้แข่งขันคนอื่นได้ทันที          

สนาม 8 : TT Circuit Assen ประเทศสเปน (DUTCH GP) : 30 มิถุนายน 2019
ลักษณะสนาม : สนาม TT Circuit Assen ถือว่าเป็นสนามที่ใช้ระยะเวลาอันสั้นในการสร้างเพียงแค่ 4 เดือน
สนามแห่งนี้ถูกขนานนามว่าเป็น “The Cathedral” จากเหล่าแฟน ๆ ของ MotoGP™  
อีกหนึ่งความอันตรายของสนาม TT Circuit Assen แห่งนี้ คือสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างมาก 
ไม่ว่าจะฝนตก มรสุม ลมแรง ทำให้นักแข่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ในการแข่งขัน
จะมีการใช้เบรกและการเปิดหน้ายางอยู่บ่อยครั้ง นักแข่งจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 16 17 18 เป็นโค้งตัว S ก่อนเข้าทางตรง Grandstand 
ต้องมีทักษะการเบรกและพลิกตัวอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะได้ทำความเร็วอย่างต่อเนื่องพร้อมบิดคันเร่งสู่ชัยชนะ

สนาม 9 : Sachsenring ประเทศเยอรมนี (GERMAN GP) : 07 กรกฎาคม 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Sachsenring สนามที่มีระยะทางรวมถือว่าสั้นที่สุดในการแข่งขัน MotoGP™  
มี Layout ของสนามถึง 3 รูปแบบปรับไปตามความเหมาะสมของรายการแข่งขัน 
มีจำนวนโค้งด้านซ้ายโค้งด้านขวาที่ต่างกันอยู่มาก ทำให้ช่วงหลังของการแข่งขันตัวยางด้านซ้าย
จะบางมากกว่าด้านขวา เพราะผ่านการใช้งานที่หนักกว่า ตัวนักแข่งเองต้องคำนึงถึงการใช้ยางมากเป็นพิเศษ 
ความต่างนี้เชื่อมโยงถึงนักแข่งเรื่องความถนัดซ้ายขวา 
จึงถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่นักแข่งหลายคนนำมาเป็นความได้เปรียบเสียเปรียบได้

โค้งไฮไลท์ : ระหว่างโค้ง 12 และ 13 เป็นทางตรงเชื่อมระหว่าง 2 โค้ง ที่นักแข่งจะเปิดคันเร่งแซงกัน 
แต่ด้วยตัวโค้งมีความลาดเอียง ทำให้ความเร็วจากการเร่งจะเพิ่มขึ้น 
หากนักแข่งท่านใดไม่ระวัง โค้งที่ 13 นี้เองก็จะรอปราบคุณให้ไถลหลุดโค้งได้

สนาม 10 : Automotodrom Brno ประเทศสาธารณรัฐเช็ก (CZECH GP) : 04 สิงหาคม 2019
ลักษณะสนาม : Automotodrom Brno เป็นสนามที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 
ด้วยสถานที่ที่เป็นแอ่งกระทะทำให้พื้นผิวสนามมีลูกเล่นไล่ระดับไปกับภูมิประเทศแบบเนินเขา 
ตัวสนามมีการลัดเลาะผ่านแนวป่าและโค้งอันซิกแซก 
นักแข่งจึงต้องเตรียมความพร้อมกับเส้นทางเนินเขาให้ดี เพื่อมาท้าทายความภูมิประเทศนี้

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 10 เป็นรูปแบบของโค้งไฮสปีดที่นักแข่งจะลดความเร็วจากทางตรงเพื่อมาวัดใจกันในโค้งนี้

สนาม 11 : Red Bull Ring - Spielberg ประเทศออสเตรีย (AUSTRIA GP) : 11 สิงหาคม 2019
ลักษณะสนาม : Red Bull Ring เป็นสนามที่จะได้แสดงศักยภาพของรถในเรื่องของการใช้ความเร็วสูงสุด 
โดยทางตรงของสนามนั้นมีความลาดชัน จุดโค้งของสนามมีความอันตรายและความยากในการใช้คันเร่ง 
ด้วยรูปแบบของสนามที่มีความสูงต่ำสลับกันไปมา 
เมื่อถึงทางตรงบรรดานักบิดจะเปิดคันเร่งอย่างเต็มที่เพื่อการเป็นผู้นำ

โค้งไฮไลท์ : ในสนามนี้ถือว่าไม่มีไฮไลท์ในเรื่องของโค้งมากนัก เนื่องจากตัวสนามมีสัดส่วนทางตรงมากกว่า 
แต่ยังมีจุดไฮไลท์อีกแบบ คือ รูปแบบของสนามที่มีความสูงต่ำสลับกันไปมาในทางตรงยาว 
ทำให้นักแข่งต้องสมดุลระหว่างการเปิดคันเร่งและเบรก

สนาม 12 : Silverstone Circuit ประเทศอังกฤษ (GREAT BRITAIN GP) : 25 สิงหาคม 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Silverstone Circuit มีระยะทางของสนามถือได้ว่ายาวที่สุดในบรรดาสนาม
ที่ใช้ในการแข่งขัน Moto GP™ ทั้งหมด จึงทำให้มีจำนวนรอบการแข่งน้อยกว่าสนามอื่น
ซึ่งมีเพียง 20 รอบ นอกจากนี้ยังมีโค้งที่สลับด้านซ้ายขวาต่อเนื่อง 
คอยท้าทายความสามารถของนักบิดผ่านการควบคุมคันเร่ง ความเร็ว และการเบรก

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 14 มี ทางตัด 90 องศา ก่อนเข้าโค้งนี้มีเส้นทางตรงระยะสั้นหลังจาก 12 และ 13 
บังคับให้นักแข่งเปิดคันเร่งเพื่อขึ้นเนินในโค้งที่ 14 
ทำให้นักแข่งหลายคนอาจไม่ระวังตัวจากองศาของตัวโค้งนี้ที่รอปราบเซียนอยู่

สนาม 13 : Marino World Circuit Marco Simoncelli อิตาลี (SAN MARINO GP) : 15 กันยายน 2019
ลักษณะสนาม : สนามแห่งนี้มีศักยภาพที่รองรับการแข่งขันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
 เป็นสนามที่มีพลังงานสะอาดและระบบที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยไม่มีการปล่อยมลพิษ 
ไฮไลท์เด็ดสำหรับเหล่านักแข่ง คือทางตรงยาวในหลายจุดที่สามารถใช้ความเร็วได้เต็มที่
และวัดความเป็นผู้นำได้ แต่ก็มีจุดที่นักแข่งต้องระวัง คือสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง 
ทำให้มีโอกาสฝนตกบ่อยจนกลายเป็นการแข่งแบบ Wet Race

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 14 หลังจากผ่านการเร่งความเร็วมากับระยะทางที่ยาว จะต้องเจอกับโค้งตัว U นี้ 
ที่ต้องผ่อนคันเร่งและเบรกลงมาเพื่อให้รักษาสมดุล หากนักแข่งไม่ระวังอาจจะพลาดไถลออกโค้งได้

สนาม 14 : Motorland Aragon ประเทศสเปน (ARAGON GP) : 22 กันยายน 2019
ลักษณะสนาม : Motorland Aragon เป็นสนามที่มีความครบครัน ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย 
โรงแรม แหล่งช้อปปิ้ง และศูนย์วิจัยการกีฬา สนามนี้มีสถิติการแข่งขันสำหรับนักแข่งของทีม Repsol Honda 
อย่าง Marc Márquez ซึ่งเป็นผู้ที่คว้าชัยชนะมากที่สุดถึง 4 ครั้งด้วยกัน ในปี 2015, 2016, 2017 และ 2018
 ต้องติดตามกันว่าเด็กระเบิดผู้นี้จะทุบสถิติชนะ ครั้งที่ 5 ในปีนี้ได้หรือไม่

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 16 โค้งตัดสินชะตาของนักแข่ง
ก่อนที่จะได้เปิดคันเร่งเต็มกำลังสูบในทางตรงยาว 968 เมตร ก่อนเข้าสู่ Grandstand

สนาม 15 : Chang International Circuit ประเทศไทย (Thai GP) : 06 ตุลาคม 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Chang International Circuit เป็นสนามแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย
และในฤดูกาลที่ผ่านมา สนามแห่งนี้มีผู้เข้าชมการแข่งขันมากสูงสุดในฤดูกาล
สนามมาตรฐานระดับโลกเพียงหนึ่งเดียวในไทย ถูกสร้างเมื่อปี 2014 ได้รับการออกแบบจาก
Hermann Tilke ชาวเยอรมัน อดีตนักแข่งและสถาปนิกที่ผ่านการออกแบบสนามแข่งระดับโลกหลาย ๆ แห่ง
เช่น Motorland Aragon, Circuit of the Americas, Sepang International Circuit
ตัวสนามมีการออกแบบให้มีผิวทางที่มีความเรียบสูงเป็นพิเศษ เพื่อรับแรงเฉือนและแรงบิดจากความเร็วของรถแข่ง 
แต่มีความฝืดที่ให้ความปลอดภัยในการขับเมื่อเร่งความเร็วสูงสุด ความพิเศษของสนามอีกหนึ่งอย่าง 
คือสามารถรองรับการแข่งขัน Formula 1 ได้อีกด้วย เพราะเป็นสนามที่สามารถทำความเร็ว
ได้กว่า 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง รวมถึงความเร็วในโค้งร่วม 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง ด้วยตัวสนามมีความร้อนสูง
ทำให้ต้องเลือกใช้ยาง Hard และเป็นสนามที่ทดสอบฝีมือนักแข่งเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องวิ่งเพื่อรักษายาง
ไว้ให้ได้จนถึงรอบสุดท้าย โดยจะมีโอกาสเพียงแค่ไม่กี่รอบเท่านั้นที่สามารถวิ่งเต็มกำลังได้ 
ซึ่งสามารถท้าทายความสามารถของนักแข่ง MotoGP™ ระดับโลกได้เป็นอย่างดี

โค้งไฮไลท์ : โค้งสุดท้ายโค้งที่ 12 เป็นโค้งวัดชะตาก่อนเข้าทางยาวนำสู่เส้นชัย 
เป็นโค้งที่ออกแบบมาเพื่อที่ให้ผู้ตามสามารถกลายเป็นผู้นำด้วยจังหวะเพียงพริบตาภายในโค้ง 
ด้วยการเบรกเข้าโค้งทำความเร็วเข้าประกบผู้นำก่อนหาจังหวะสไลด์ตัวออกจากโค้ง
และเปิดคันเร่งสุดกำลังเพื่อวิ่งคว้าชัยชนะ อย่างที่ Marc Márquez เด็กระเบิดพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า
โค้งที่ 12 คือโค้งแห่งชัยชนะด้วยการคว้าโพลโพสิชันอันดับหนึ่งสนาม Chang International Circuit
ในศึก MotoGP™ 2018

สนาม 16 : Twin Ring Motegi ประเทศญี่ปุ่น (JAPANESE GP) : 20 ตุลาคม 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Twin Ring Motegi แห่งนี้มีสิ่งที่หลาย ๆ คนต้องไปสัมผัสให้ได้ คือ Honda Collection Hall
พิพิธภัณฑ์ที่เก็บประวัติศาสตร์ทุกเรื่องของฮอนด้า ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยานติดเครื่องยนต์คันแรก 
รถแข่งในรายการมอเตอร์สปอร์ตที่ฮอนด้าเข้าร่วมและคว้าชัยในสนามแข่งต่าง ๆ 
รวมถึงต้นแบบหุ่นยนต์อาซิโมก่อนจะเป็นหุ่นยนต์ขวัญใจคนทั่วโลก สำหรับตัวสนามในการแข่งขัน MotoGP™ 
นั้นมีความโหดของสนามด้านการรักษาสภาพผ้าเบรกของนักแข่ง เนื่องจากต้องใช้เบรกเยอะมากในสนามนี้ 
จึงอาจจะทำให้ผ้าเบรกเสื่อมก่อนจบรอบ อาจจะทำให้ไปไม่ถึงเส้นชัยได้

โค้งไฮไลท์ : สนามนี้มีโค้งตัว U อยู่หลายจุด เบรกจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการแข่งของนักแข่ง 
การใช้เบรกจึงต้องสัมพันธ์ในการเข้าโค้ง หากคำนวณผิดพลาดในช่วงท้ายอาจพลาดเสียอันดับให้นักบิดคนอื่นได้

สนาม 17 : Phillip Island ประเทศออสเตรเลีย (AUSTRALIAN GP) : 27 ตุลาคม 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Phillip Island สนามใกล้ชายทะเล ที่มีวิวทิวทัศน์การแข่งขันผสานกับวิวทะเล
ที่ทอดยาวสุดสายตา สนามแห่งทัศนียภาพที่แฟน ๆ MotoGP™ ต้องไปสัมผัสกันให้ได้สักครั้ง 
สำหรับสนามแห่งนี้ความสวยงามไม่ทำให้ความโหดหินนั้นลดลง เป็นอีกหนึ่งสนามที่มีมุมมองในโค้งเป็นมุมปิด 
ยากต่อการมองเห็นของนักแข่ง จึงมีการทำความเร็วได้ไม่มาก 
ตัวนักแข่งเองจึงต้องใช้รอบทดสอบสนามทำความเข้าใจในตัวสนามเป็นอย่างมาก
            
โค้งไฮไลท์ : โค้ง 10 เป็นทางโค้งแคบแบบปิดมุมลักษณะตัว V ซึ่งยากต่อการมองเห็น 
และต้องใช้ความเร็วสูงเพื่อจะรักษาพ้นโค้งให้ได้ ทำให้นักแข่งต้องใช้ทักษะและกระบวนการแก้ปัญหาที่ดี

สนาม 18 : Sepang International Circuit ประเทศมาเลเซีย (MALAYSIAN GP) : 03 พฤศจิกายน 2019
ลักษณะสนาม : สนาม Sepang International Circuit สนามแห่งความเร่าร้อน 
คลื่นความร้อนจากภูมิประเทศแผ่สู้กับฟอร์มความร้อนแรงของนักแข่ง สนามแห่งนี้ต้องใช้ทักษะในการขับขี่
ที่ค่อนข้างสูง ทั้งการควบคุมรถ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะเป็นสนามลูกครึ่งที่มีส่วนผสมของทางไฮสปีด
และทางไฮคอนโทรล บางครั้งหากฝนตกในการแข่งขันอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนรถในขณะนั้นได้

โค้งไฮไลท์ : โค้งที่ 15 เนื่องจากมีทางตรงก่อนเข้าและหลังออกจากโค้ง 
นักแข่งจึงใช้ความเร็วอย่างเต็มกำลังสูบในทางตรงเหล่านี้ แต่โค้งที่ 15 นี้ก็เป็นกับดัก
ที่จะวัดการควบคุมคันเร่งและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี

สนาม 19 : Circuit Ricardo Tormo ประเทศสเปน (VALENCIA GP) : 17 พฤศจิกายน 2019
ลักษณะสนาม : สนามปิดท้ายฤดูกาล หรือที่รู้จักกันในชื่อ Circuit de Valencia และชื่ออย่างเป็นทางการ 
Circuit de la Comunitat Valenciana Ricardo Tormo ความท้าทายสุดท้ายของเหล่านักแข่ง MotoGP™ 
ก่อนจะรู้ว่าใครจะเป็นแชมป์ในสนาม Circuit Ricardo Tormo แห่งนี้ 
มีความแคบของแทร็กเป็นอาวุธ ทำให้แซงกันได้ยากพอสมควร ซึ่งจุดนี้ก็ถือเป็นการวัดทักษะความสามารถ
ของนักแข่งในการควบคุมรถในทางโค้งที่ต้องอาศัยวงเลี้ยวที่แคบกว่าปกติ
            
โค้งไฮไลท์ : สนามแห่งนี้อาจจะไม่มีไฮไลท์พิเศษในส่วนของโค้ง แต่ส่วนที่เป็นไฮไลท์สนามตบท้ายรายการนี้
อยู่ที่ความแคบของสนามแข่งขันทำให้เกิดความยากในการแซงของนักแข่ง 
ตัวนักแข่งต้องใช้ความสามารถในการควบคุมรถและไหวพริบในการโค้งค่อนข้างมาก

“ MotoGP ” กับ “ WorldSBK ”

ชุดก็คล้าย รถก็คล้าย แล้วมันต่างกันยังไงละเนี่ย ??

สงสัยกันใช่มั้ยล่ะ ว่ารถสองรายการนี้มันแตกต่างกันยังไง 
เรามาแถลงไขให้แล้ววว คือจริงๆ แล้ว “MotoGP” เป็นรถที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันเท่านั้น

ตั้งแต่ในส่วนของโครงสร้าง เครื่องยนต์ รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่ถูกนำมาประกอบ

ส่วน “WorldSBK” จะเป็นรถทั่วไปที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ก่อนจะนำมาปรับแต่งสมรรถนะเพื่อ

ให้สามารถลงทำการแข่งขันได้ เช่น Honda CBR1000R นั่นเอง

ทีนี้ก็เห็นความต่างในความเหมือนแล้วใช่มั้ยล่ะ

 

“Honda RC213V” ม้าศึกพันธุ์ดุของแชมป์โลก !
หลังจากเปิดตัวมาเมื่อปี 2012 “Honda RC213V” ก็ถูกพัฒนาและปรับปรุงมาโดยตลอดจนกลายมาเป็นม้าศึกคู่ใจ
ที่พา Marc Márquez กวาดแชมป์มาแล้วนับไม่ถ้วนจนถึงปัจจุบัน
วันนี้เราก็เลยจะพาไปส่องสเปคของเจ้า “RC213V” กันว่าทำไมถึงได้ดุขนาดนี้ !

แชสซี : เป็นโครงสร้างแบบ Twin-Spar Aluminum มีน้ำหนักเบาทนทาน 
ยืดหยุ่นต่อแรงบิดและแรงกระชากได้ดีแถมยังช่วยทำให้บาลานซ์ของรถดีขึ้นโดยเฉพาะตอนเข้าโค้ง

เครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง : เครื่องยนต์แบบ 4 Cylinder V Engine ขนาด 1000 cc 4 สูบแบบ DOHC 
ทำงานแบบ 4 จังหวะพร้อมทำกำลังสูงสุดได้มากกว่า 242 แรงม้า ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์ 6 สปีดแบบ 
*Racing Reverse และระบบ **Quickshifter ระบายความร้อนด้วยน้ำตัวเครื่องยนต์น้ำหนักเบาช่วยให้ขี่ได้ง่ายขึ้น
( *Racing Reverse คือการเข้าเกียร์ 1 โดยการงัดขึ้นจากนั้นจะกดเท้าลงเพื่อเข้าเกียร์ต่อๆ ไป 
ซึ่งแตกต่างจากทั่วไปที่เวลาเข้าเกียร์ 1 จะต้องกดเท้าลงแล้วค่อยงัดขึ้นเพื่อเปลี่ยนเกียร์ต่อๆ ไปแทน
**Quickshifter คือระบบที่ช่วยให้การเปลี่ยนเกียร์ได้เร็วขึ้นโดยที่ไม่ต้องกำครัชต์และผ่อนคันเร่ง)

ระบบโช้กและช่วงล่าง : พัฒนาโดย Öhlins โช้กหน้าเป็นแบบหัวกลับขนาด 48 มิลลิเมตร
ส่วนโช้กหลังเป็นแบบโช้กเดี่ยว ทั้งหมดจะทำงานร่วมกับสวิงอาร์มแบบ Pro-Link 
สำหรับช่วงล่างจะมีการปรับแต่งพิเศษเพื่อให้เหมาะกับสไตล์ขับขี่ของนักแข่งโดยเฉพาะจากผู้เชี่ยวชาญของ Öhlins

ระบบเบรก : ใช้เป็นระบบดิสก์เบรกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยเบรกหน้าเป็นดิสก์คู่แบบคาร์บอนไฟเบอร์
ขนาด 340 มิลลิเมตรน้ำหนักเพียง 850 กรัมและทนความร้อนได้สูงถึงกว่า 800 องศาเซลเซียส 
ส่วนเบรกหลังเป็นแบบดิสก์เดี่ยว สำหรับเบรกหน้าจะใช้เป็นของ Brembo เบรกหลังใช้เป็นของYutaka 
และทั้งหมดจะทำงานร่วมกับปั๊มเบรกของ Brembo

แฟริ่ง : หน้ากากคลุมโครงรถเป็นวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ที่มีน้ำหนักเบาและยืดหยุ่นสูง 
โดยถูกออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์เพื่อช่วยให้รถสมดุลและทำความเร็วได้มากที่สุด

ระบบล้อ : วงล้อเป็นวัสดุแมกนีเซียมอัลลอยด์ที่มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงและทนทานสูง โดยมีขนาด 17 นิ้วเท่ากัน
ทั้งล้อหน้าและหลัง สำหรับตัวยางจะใช้เป็นยางคุณภาพจาก Michelin เท่านั้น 
(ตามกฎระเบียบของการแข่งขันทุกทีมจะต้องใช้ยางจากค่าย Michelin )

เห็นความดุของเจ้า “RC213V” แล้วบอกได้เลยว่าตะลึงในความโหดจริงๆ

ต้องเทพแค่ไหน! ถึงจะเป็นแชมป์ได้อย่าง Marc Márquez


ในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา ชื่อของ Marc Márquez คงเข้าไปอยู่ในใจของใครหลาย ๆ คนมากยิ่งขึ้น 
ด้วยผลงานการบิดเข้าชิงโพเดียมในโค้งสุดท้าย ณ สนาม Chang International Circuit 
และสามารถคว้าแชมป์การแข่งขัน MotoGPTM 2018 ได้อย่างขาดลอย ยังรวมไปถึงปรากฎการณ์
ที่ทำให้คนไทยรู้จักเขามากยิ่งขึ้น กับความบังเอิญของเลข 93 เลขประจำตัวนักแข่งของ Marc Márquez 
ที่นำโชคมาให้คนไทยได้ชื่นใจกันทั่วหน้า นั่นคือ รางวัลเลขท้าย 2 ตัว

Marc Márquez เป็นชายหนุ่มที่สามารถสร้างผลงานอันน่าเหลือเชื่อ และเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในวงการ 
Motorsport เขาคือจอมทำลายสถิติ ไม่ว่าจะเป็น “สถิติแชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุด”
 “สถิติการคว้าแชมป์สนามมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล” หรือ “นักบิดที่อายุน้อยที่สุดที่คว้าแชมป์ได้ 5 สมัย” 
เป็นต้น ด้วยทักษะการบิดสุดบ้าคลั่งของเขา ทำให้หลาย ๆ คนตั้งฉายาว่า “เจ้ามดแดงแห่งเซอร์เวร่า” 
และอีกหนึ่งฉายาจากคนไทย คือ “เด็กระเบิด”

วันนี้เราได้รวบรวมช็อตเด็ดสุดบ้าคลั่งของ Marc Márquez ที่เป็นที่พูดถึงในวงการ Motorsport 
และช็อตที่ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของเขา ให้ได้รู้กันไปเลยว่าความสามารถระดับนี้กับแชมป์ 
MotoGPTM 5 สมัย ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย

เบรกจนล้อหลังยก ก่อนเข้าโค้ง

นี่ถือเป็นหนึ่งเอกลักษณ์ของ Marc Márquez กับการ “เบรกลึก” หรืออธิบายง่าย ๆ ว่าตอนเข้าโค้ง 
เขาจะกำเบรกช้ากว่าชาวบ้าน ทำให้เขาสามารถเข้าโค้งได้ด้วยความเร็วที่มากกว่า 
แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงมาก ในปี 2014 ณ สนาม Circuit of Jerez ประเทศสเปน 
เขาเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงมาก และกำเบรกแรงจนกระทั่งล้อหลังยกขึ้นในจังหวะที่เขาเข้าโค้ง 
แต่เขาก็ได้แสดงความสามารถอันเหนือชั้นโดยการผ่านโค้งนั้นมาได้อย่างน่าใจหาย

สไลด์ล้อหลังเข้าโค้ง

อีกหนึ่งเทคนิคสุดยอดของ Marc Márquez เรียกได้ว่าเห็นกันแทบทุกสนาม นั่นคือการ
“สไลด์ล้อหลังตอนเข้าโค้ง” ด้วยความที่เขาเข้าโค้งด้วยความเร็วที่สูงมาก
เขาจึงมีวิธีจัดการกับโค้งเหล่านั้นด้วยการสไลด์ล้อหลังเพื่อเป็นการลดวงเลี้ยงของรถมอเตอร์ไซค์ให้แคบลง 
โดยเทคนิคนี้เขาก็ได้นำมาใช้ในการแข่งขันในประเทศไทย ณ สนาม Chang International Circuit 
ปี 2018 ที่ผ่านมา ในโค้งสุดท้ายที่เป็นโค้งวัดผลว่าใครจะได้เข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 1 
ซึ่งขณะนั้นเขากำลังตามหลังคู่แข่งอยู่ และก่อนจะถึงโค้ง Marc Márquez 
ได้สไลด์ล้อหลังรถมอเตอร์ไซค์ของเขาก่อนเข้าโค้งเพื่อสร้างวงเลี้ยวที่แคบลง 
และช่วงชิงพื้นที่ด้านในไปได้ ทำให้เขาสามารถแซงคู่แข่งได้ในโค้งสุดท้าย จนคว้าแชมป์สนามได้สำเร็จ

เข้าโค้ง ศอกติดพื้น ขาหลุดจากพักเท้ารถมอเตอร์ไซค์

ที่สนาม Misano World Circuit ประเทศอิตาลี ปี 2013 ในขณะที่เขาเข้าโค้ง 
ได้เกิดเหตุการณ์ผิดพลาดทางเทคนิคขึ้น ล้อหน้าของเขาสไลด์ 
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในการเข้าโค้งระหว่างการแข่งขัน จน Marc Márquez 
เสียหลักทำให้ตัวของเขาเรียดไปกับพื้นจนข้อศอกติดพื้น และขาขวาของเขาหลุดออกมาจากที่พักเท้า 
แต่ในจังหวะนั้นเขาสามารถประคองรถให้สามารถกลับเข้าสู่การแข่งขันได้โดยปลอดภัย

เข้าโค้งด้วยองศาที่แคบที่สุด เป็นสถิติโลก

อีกหนึ่งสถิติโลกที่ Marc Márquez ได้สร้างเอาไว้ และดูทีท่าว่าจะไม่มีใครสามารถทำลายสถิตินี้ได้
กับการเข้าโค้งด้วยองศาที่แคบที่สุดถึง 68 องศา ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วองศาการเข้าโค้งของนักแข่ง 
MotoGPTM ทั่วไปอยู่ที่ราว ๆ 64 องศาเท่านั้นเอง อันที่จริงแล้วการเข้าโค้ง 68 องศาของ 
Marc Márquez ในครั้งนั้นเกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการขับขี่ของตัวเขาเอง 
ทำให้เขาเสียจังหวะจนเกือบจะล้ม แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นใหญ่ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าคือหลังจากผ่านโค้งนั้น 
Marc Márquez ก็ได้ชื่อว่าเป็นนักแข่ง MotoGPTM ที่เข้าโค้งด้วยองศาที่แคบที่สุดในโลก

วิ่งเข้าไปเปลี่ยนรถใน Pitch

นักแข่งหลายคนคงถอดใจ มือกุมหัว เมื่อรถมอเตอร์ไซค์เกิดเสียกลางการแข่งขัน 
แต่นั่นไม่ใช่หนทางของ Marc Márquez เพราะการแข่งขันรอบ Qualify ในสนาม 
Circuit of Americas ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2015 รถของ Marc Márquez 
เกิดเสียขึ้นกลางคัน แต่สปิริตและความบ้าของเขาไม่ได้หมดไปพร้อม ๆ กับเครื่องยนต์ที่ดับลง 
เขาตัดสินใจกระโดดข้ามที่กั้นสนาม เพื่อวิ่งเข้าไปยังซุ้มทีม Repsol Honda 
และทำการเปลี่ยนรถมอเตอร์ไซค์คันใหม่ เพื่อวิ่งให้ครบเวลาการ Qualify ที่สำคัญการ Qualify 
ในรอบนั้น Marc Márquez ทำเวลาได้ดีที่สุด และสามารถเริ่ม Grid 
สตาร์ทการแข่งขันได้ในอันดับที่ 1 ในรอบการแข่งขันจริง 
ทำเอาทีมงาน Repsol Honda เฮลั่น ดีใจกันยกใหญ่

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในความสุดยอดของหนุ่ม Marc Márquez ผู้ที่กำลังจะเข้าร่วมการชิงแชมป์โลก 
MotoGPTM อีกหลายสมัยในอนาคต แต่ก็ถือเป็นบทพิสูจน์ที่มากพอที่จะพูดได้ว่า
 “Marc Márquez คือนักบิดที่เหมาะสมกับตำแหน่งแชมป์ MotoGPTM 5 สมัย” 
และการกระทำของเขาได้ให้แง่คิดกับเราด้วยว่า “การจะประสบความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
คุณจะต้องบ้า ต้องกล้า และที่สำคัญคุณต้องไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ” ไม่ว่าหนทางข้างหน้าจะยากเย็นแค่ไหน
 ก็ต้องใช้ความกล้านำหน้าสู้กับความกลัว “มุ่งไปอย่าให้อะไรมาหยุด WHAT STOPS YOU?”

ซึ่งการแข่งขัน MotoGPTM ฤดูกาลใหม่ในปี 2019 มาดูกันว่าในปีนี้เจ้าหนุ่ม Marc Márquez 
จะโชว์ฝีมือสุดโหดในรูปแบบไหนให้เราได้รับชมกันบ้าง และมาร่วมลุ้นกันว่าเขาจะคว้าแชมป์รายการนี้
อีกหนึ่งสมัยได้หรือไม่ แฟน ๆ สามารถติดตามข่าวสารและอัพเดท ทั้งในไทยและระดับโลก

 

แตกต่าง(แต่โหด)เหมือนกัน !

ในการแข่งขันระดับสากลนั้นจะมีการแบ่งระดับออกเป็น Moto3 Moto2 และ MotoGP™ ด้วยกัน

ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างเราไปดูกันเลยดีกว่า

🏁 MotoGP™ 
🏍️ เครื่องยนต์ : 800-1000 cc
🏍️ จุดเด่น : ถูกผลิตมาเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ
🏍️ แรงม้า : 260
🏍️ อายุนักแข่ง : ไม่ต่ำกว่า 18 ปีแต่ไม่เกิน 50 ปี

🏁 Moto2 
🏍️ เครื่องยนต์ :765 cc
🏍️ จุดเด่น : วาล์วไทเทเนียมทำให้เครื่องยนต์ทำรอบได้สูงขึ้น
🏍️ แรงม้า : 131
🏍️ อายุนักแข่ง : ไม่ต่ำกว่า 16 ปีแต่ไม่เกิน 50 ปี

🏁 Moto3
🏍️ เครื่องยนต์ : 250 cc
🏍️ จุดเด่น : ความกว้างกระบอกสูบไม่เกิน 81 mm 
🏍️ แรงม้า : 55
🏍️ อายุนักแข่ง : ไม่ต่ำกว่า 16 ปีแต่ไม่เกิน 28 ปี

เวลาดูการแข่งขัน MotoGP™ เกือบทุกครั้งเรามักจะเห็นธงสีต่างๆ
ถูกโบกขึ้นตลอดการแข่งขันซึ่งหลายคนอาจรู้ความหมายบ้างไม่รู้ความหมายบ้าง
วันนี้เราก็เลยรวบรวมเอาความหมายของธงต่างๆ มาให้ทุกคนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ธงเหลือง : มี 2 กรณี หากโบกก่อนการแข่งแสดงว่าต้องเลื่อนการเริ่มไปก่อนแต่ถ้าหากโบกระหว่างแข่ง
คือแจ้งให้ชะลอรถและห้ามแซงเพราะอาจมีเหตุการณ์อันตรายบางอย่างอยู่กลางสนาม

ธงแดง : มีอันตรายให้นักแข่งทุกคนชะลอรถและทยอยเข้าพิท 
เพื่อรอประเมินสถานการณ์ว่าจะแข่งต่อได้หรือไม่ โดยมี 3 กรณีด้วยกันถ้าเกิดแข่งต่อได้
- ถ้าแข่งได้ 3 รอบหรือน้อยกว่านั้น ต้องเริ่มแข่งใหม่ตั้งแต่ต้น 
แต่ถ้าแข่งต่อม่ได้จะยกเลิกการนับคะแนนสนามนั้นทันที
- แข่งไปมากกว่า 3 รอบหรือน้อยกว่า 2/3 สำหรับ Moto2 , Moto3 หรือ 3/4 สำหรับ MotoGP 
จะเริ่มแข่งใหม่หมดตั้งแตจ่แรกโดยลำดับการออกตัวจะยึดตามก่อนธงแดงโบก 
แต่ถ้าแข่งต่อไม่ได้จะนับคะแนนมาแค่ครึ่งเดียว
- แข่งไปมากกว่า 2/3 สำหรับ Moto2 , Moto3 หรือ 3/4 สำหรับ MotoGP การแข่งจะจบทันที 
และนับคะแนนตามปกติโดยยึดตามลำดับก่อนธงแดงโบก

ธงเขียว : มักจะโบกต่อจากธงเหลืองเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่สภาวะปกติเพื่อแจ้งนักแข่งว่าสามารถแข่งต่อได้

ธงดำ+เบอร์รถ : แจ้งให้นักแข่งที่ทำผิดกติกาออกจากสนามและห้ามแข่งอีกในสนามนั้นๆ

ธงดำวงกลมส้ม+เบอร์รถ : แจ้งให้รถที่มีปัญหาออกจากสนามการแข่งขัน

ธงขาวกากบาท+ธงลายทางแดงเหลือง : เตือนนักแข่งว่าถนนเปียกลื่นให้ระมัดระวัง

ธงขาว : แจ้งให้นักแข่งเปลี่ยนรถหรือเปลี่ยนยางเพราะถนนเปียกและอาจเกิดอันตรายได้

ธงฟ้า : แจ้งนักแข่งว่ามีรถที่เร็วกว่ากำลังจะน็อกรอบ เพื่อให้หลบและให้คันหลังแซงไปได้

ธงตราหมากรุก : แจ้งให้ทราบว่าการแข่งขันจบลงเรียบร้อยแล้ว

ความมันส์กำลังรอคุณอยู่ !
ห้ามพลาดเด็ดขาดกับอีก 8 สนามที่เหลือของการแข่งขัน MotoGP™ 2019
British GP : 25 สิงหาคม 2562
San Marino Gp :15 กันยายน 2562
Aragon GP : 22 กันยายน 2562
Thai GP : 6 ตุลาคม 2562
Japanese GP : 20 ตุลาคม 25621
Australian GP : 27 ตุลาคม 2562
Malaysian GP : 3 พฤศจิกายน 2562
Valencia GP : 17 พฤศจิกายน 2562
สำหรับแฟนๆ ชาวไทยที่รักความเร็วสามารถคอยติดตามชมและเชียร์แบบติดหน้าหน้าจอกัน
ได้ผ่านทาง พีพีทีวี เอชดี36 และ ฟ็อกซ์ สปอร์ต ได้เลย

 

โหดจัดไม่ต้องให้ใครบอก !!
ยินดีกับชัยชนะครั้งที่ 5️0 ของเด็กระเบิด “Marc Márquez" 
แชมป์โลกสุดแกร่งจาก Repsol Honda

 

FIM เผยปฏิทินการแข่งขันรถจักรยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก MotoGP 2019 ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
มีการแข่งขันทั้งหมด 19 สนาม ยึดตามสังเวียนเดิม เริ่มเปิดฤดูกาลสนามแรกในวันที่ 10 มีนาคม 2019 
โดยสนามจะประกอบไปด้วย
สนามที่ 1 วันที่ 8 - 10 มี.ค. 62 ที่ โลเซล อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศกาตาร์ 
สนามที่ 2 วันที่ 29 - 31 มี.ค. 62 ที่ เทอร์ มาส เดอ ริโอ ฮอนด้า เซอร์กิต ประเทศอาร์เจนตินา 
สนามที่ 3 วันที่ 12 - 14 เม.ย. 62 ที่ เซอร์กิต ออฟ ดิ อเมริกา ประเทศอเมริกา 
สนามที่ 4 วันที่ 3 - 5 พ.ค. 62 ที่ เฆเรซ เซอร์กิต ประเทศสเปน 
สนามที่ 5 วันที่ 17 - 19 พ.ค. 62 ที่ เลอม็อง เซอร์กิต ประเทศฝรั่งเศส 
สนามที่ 6 วันที่ 31 - 2 มิ.ย. 62 ที่ ออโต้โดโม่ ดิ มูเจลโล ประเทศอิตาลี 
สนามที่ 7 วันที่ 14 - 16 มิ.ย. 62 ที่ เซอร์กิต เอด คาตาลุนญ่า ประเทศสเปน
สนามที่ 8 วันที่ 28 - 30 มิ.ย. 62 ที่ ทีที เซอร์กิต แอดเซน ประเทศเนเธอร์แลนด์ 
สนามที่ 9 วันที่ 5 - 7 ก.ค. 62 ที่ ซัคเซนริง เซอร์กิต ประเทศเยอรมัน 
สนามที่ 10 วันที่ 2 - 4 ส.ค. 62 ที่ ออโต้ โมโตโดรม เบอร์โน ประเทศสาธารณรัฐเช็ก 
สนามที่ 11 วันที่ 9 - 11 ส.ค. 62 ที่ เรดบูล ริง สปีลเบิร์ก ประเทศออสเตรีย 
สนามที่ 12 วันที่ 23 - 25 ส.ค. 62 ที่ ซิลเวอร์สโตน เซอร์กิต ประเทศสหราชอาณาจักร 
สนามที่ 13 วันที่ 13 - 15 ก.ย. 62 ที่ มิซาโน เวิลด์เซอร์กิต ประเทศอิตาลี 
สนามที่ 14 วันที่ 20 - 22 ก.ย. 62 ที่ โมโตแลนด์ อารากอน ประเทศสเปน 
สนามที่ 15 วันที่ 4 - 6 ต.ค. 62 ที่ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศไทย 
สนามที่ 16 วันที่ 18 - 20 ต.ค. 62 ที่ ทวิน ริง โมเตกิ ประเทศญี่ปุ่น 
สนามที่ 17 วันที่ 25 - 27 ต.ค. 62 ที่ ฟิลลิป ไอซ์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย 
สนามที่ 18 วันที่ 1 - 3 พ.ย. 62 ที่ เซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย 
สนามที่ 19 วันที่ 15 - 17 พ.ย. 62 ที่ เซอร์กิต ริคาร์โด ตอร์โม ประเทศสเปน
 
 
ประเทศไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก รายการแข่งขัน MotoGP ที่จัดขึ้นในบ้านเรา หรือที่เรียกกันว่า ThaiGP 
ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่! คว้ารางวัล (MotoGP Grand Prix of the Year) โดย IRTA 
หรือ สมาคมทีมแข่งจักรยนต์นานาชาติ เลือกให้เป็นแมชโมโตจีพีที่ดีที่สุดประจำปี 2018
มีผู้ชมการแข่งขันทะลุ 222,535 คนมากกว่าบรรดาสนามแข่งทั้ง 19 สนาม ตลอด 3 วัน
ทั้งที่เพิ่งจัดการแข่งขันเป็นปีแรกก็สามารถสร้างความประทับใจอย่างล้นหลาม 
ให้กับบรรดาแฟนๆ และผู้ชมจากทั่วโลก ทั้งเรื่องระบบการจัดการยอดเยี่ยม
และสิ่งอำนวยความสะดวกในกิจกรรมต่างๆ จนได้เป็นโมโตจีพีที่ดีที่สุดปีนี้
 
ทำไมนักบิดต้องกางขาก่อนเข้าโค้ง? เป็นเทคนิคพิเศษของเหล่านักบิดครับ เพราะการกางขา ก่อนเข้าโค้ง 
หรือ The Doctor Dangle คือการจัดเตรียมร่างกายให้พร้อมเพื่อย้ายศูนย์ถ่วงออกจากรถก่อนเข้าโค้งให้เร็วที่สุด 
โดยการกางขาจะเป็นวีธีที่เร็วกว่าการย้ายทั้งตัวออกจากรถ เพราะไม่อย่างนั้นลิมิตการเอียงอาจจะเร็ว
จนไม่สามารถใช้ความเร็วที่ควรใช้ได้นั่นเอง และประโยชน์ของการกางขา ก่อนเข้าโค้ง
คือ ยิ่งความเร็วสูง แรงต้านอากาศยิ่งเยอะตาม การกางขาจึงมีส่วนช่วยเรื่อง Air Brake 
เพิ่มแรงกดที่ล้อหน้าซึ่งจะส่งผลต่อความเสียดทางของหน้ายางทำให้การเบรกแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
 
ย้อนความสำเร็จตลอด 70 ปี ในการแข่งขัน World Grand Prix หรือ MotoGP ของ Honda 
ผู้นำด้านรถจักรยานยนต์เบอร์ต้น ๆของโลก ที่ได้พิสูจน์ตัวเองสร้างผลงานประวัติศาสตร์คว้าแชมป์
สนามมามากกว่า 750 ครั้ง พร้อมสร้างนักบิดฝีมือดีไว้ มากมายในวงการ เริ่มตั้งแต่ Tom Phillis , Jim Redman , 
Mike Hailwood , Freddie Spencer , Jim Filice , Àlex Crivillé , Loris Capirossi , Haruchika Aoki , 
Tomomi Manako , Dani Pedrosa , Casey Stoner , Cal Crutchlow , จนมาถึงเจ้าเด็กระเบิด Marc Márquez 
ที่ล่าสุดสามารถสานต่อความสำเร็จคว้าแชมป์ MotoGP ปี 2018 มาครองได้ในที่สุด 
ยิ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของผู้นำมอเตอร์สปอร์ตโลกสองล้ออย่างแท้จริง
 
ทำไมเทคโนโลยี DCT หรือเกียร์คลัทช์คู่ ถึงไม่อนุญาติให้ใช้ใน MotoGP 
เพราะทาง FIM เห็นว่ามันช่วยเหลือและเพิ่มความสะดวกสบายต่อนักบิดมากเกินไป 
โดยนักบิดไม่ต้องคอยใช้เท้าในการงัดเกียร์ เพราะตัวสั่งการอยู่ที่แฮนด์จับโช้กแทน 
และแทบจะไม่มีช่องว่างระหว่างเวลาในการต่อเกียร์เหลือเลย แถมการควบคุมยังขึ้นอยู่กับกล่องแทบทั้งหมด 
หากใช้ใน MotoGP ทางทีมแข่งต้องใช้เม็ดเงินที่สูงเพื่อทำการวิจัยพัฒนาตัวกล่องให้ฉลาดที่สุด 
ซึ่งสำหรับทีมงบน้อยคงไม่มีเงินทุนหนาพอที่จะทำได้ พร้อมตัดช่องว่างระหว่างทีมแข่งครับ
 
Handguard เหล็กรูปตัวแอล มีหน้าที่ช่วยป้องกันการเกี่ยวเบรกระหว่างรถแข่งที่ขับใกล้หรือเบียดชิดกัน
พร้อมป้องกันมือของนักแข่งหากเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน Handguard
จะต้องแข็งแรงพอที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการออกแบบ
เพื่อให้ไม่มีความเสี่ยงสำหรับผู้ขับขี่ที่จะได้รับบาดเจ็บ โดยทาง FIM
กำหนดให้รถแข่ง MotoGP จะต้องติดตั้ง Handguard ในการแข่งขัน
 
 
Winter Test คืออะไร
Winter Test คือ ช่วงเวลาทำการทดสอบรถแข่ง MotoGP ก่อนเปิดฤดูกาลการแข่งขันจริงตามโปรแกรม 
ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวของหลายๆ ประเทศ จึงเกิดเป็นชื่อ Winter Test ขึ้นมา ดังนั้น Winter Test 
จึงเป็นรายการที่ให้ทีมแข่งต่างๆ ฝึกซ้อม นำรถแข่งใหม่ เครื่องยนต์ใหม่ หรือนักแข่งคนใหม่ มาทดสอบ 
และปรับเซ็ทให้เข้ากับรถแข่ง และทีมงาน รวมไปถึงเป็นการแก้ไขจุดบกพร่องพัฒนา 
และเตรียมความพร้อมก่อนเปิดฤดูกาลการแข่งขันจริง เพื่อให้ได้รถแข่ง และนักแข่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
 
MotoGP ปรับรอบ Qualify 
การแข่งขัน MotoGP ประกาศปรับรูปแบบ Qualify สำหรับรุ่น Moto2 และ Moto3 
ในการชิงชัยฤดูกาลหน้า โดยจะใช้ฟอร์แมตเดียวกันกับ MotoGP เพื่อจัดอันดับบนกริดสตาร์ท 
ซึ่งแบบเก่าของรุ่น Moto2 และ Moto3 จะใช้การ Qualify ในเซสชั่นเดียวเพื่อจัดอันดับบนกริดสตาร์ท 
โดย Moto2 จะใช้เวลา 45 นาทีในการแย่งชิงอันดับที่ดีที่สุด และ Moto3 จะให้เวลาเพียง 40 นาที
แต่ในฤดูกาลหน้าเป็นต้นไปทั้ง 2 รุ่นจะปรับมาใช้รูปแบบเดียวกับ MotoGP 
 
จานเบรก Carbon ถือเป็นจานเบรกที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าจานเบรกแบบปกติ 
คุณสมบัติพิเศษ คือ มีค่าแรงเสียดทานสูง น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดี 
สามารถทนความร้อนได้ถึง 800 องศา ซึ่งจานเบรกชนิดนี้ต้องเลี้ยงอุณหภูมิไว้ให้ถึง 
300 - 500 องศาเซลเซียส ถึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
และยังสามารถลดความเร็วที่ระดับ 285 กม./ชม. เหลือ 95 กม./ชม. 
ได้ในเวลาเพียง 5 วินาที เท่านั้น ใช้ในการแข่งขัน MotoGP 
 
อะไหล่รถแข่ง MotoGP นั้นจะมีความพิเศษ ทั้งในด้านความแข็งแรง ความยืดหยุ่น น้ำหนักเบา
และต้องทนทานต่อการใช้งานที่หนักหน่วง ซึ่งอะไหล่แต่ละชิ้นก็จะมีระยะเวลา และระยะทาง
การใช้งานที่แตกต่างกัน อย่าง 
1. น้ำมันเครื่อง และน้ำหล่อเย็นจะต้องเปลียนทุกๆ 320 กิโลเมตร 
2.โซ่ขับเคลื่อนจะต้องเปลียนทุกๆ 500 กิโลเมตร 
3. เฟืองสเตอร์ , ชุดแผ่นคลัทช์ , แผ่นเหล็กคลัทช์ , จานเบรก , และผ้าเบรกจะต้องเปลียนทุกๆ 1,000 กิโลเมตร 
4. ล้อจะต้องเปลียน ทุกๆ 1,200 กิโลเมตร 
5. เครื่องยนตร์จะต้องเปลียนทุกๆ 2,000 กิโลเมตร 
6.ชุดแผงคอ , แฮนด์บาร์ , และชุดเบาะนั่ง รวมทั้งแฟริ่งด้านท้ายและซับเฟรมจะต้องเปลียนทุกๆ 4,000 กิโลเมตร 
7.ชุดเฟรมจะต้องเปลียนทุกๆ 5,000 กิโลเมตร สาเหตุที่ทำให้ชิ้นส่วนตัวแข่ง MotoGP มีอายุการใช้งานที่น้อย 
นั้นเพราะถูกใช้งานกว่า 500 กิโลเมตร ต่อหนึ่งสัปดาห์การแข่งขัน ซึ่งชิ้นส่วนต่างๆต้องทำงานหนักมาก
ทำให้อันตราการเสื่อมของอะไหล่เหล่านี้สูงกว่ารถทั่วไป
 
กติกา Pit Lane คือ เส้นทางวิ่งสำหรับเข้าออกระหว่างสนามกับจุดซ่อมแซม service รถแข่ง 
ซึ่งเป็นทางตรงและจำกัดความเร็วการเข้าออก ตามแต่ละที่สนามกำหนด โดยกติกา MotoGP 
ให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 60 กม.ต่อชม หากใช่ความเร็วเกินที่กติกากำหนด 
จะถูกปรับเงินเป็นจำนวนราว 7,500 บาทต่อครั้ง แต่ในปี 2019 
หากคณะกรรมการพบว่านักบิดยังทำผิดซ้ำอีกในฤดูกาล จะถูกปรับด้วยจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากเดิม
 
 
นอกการแข่งขันยังมีการแบ่งประเภทของทีมแข่งต่างๆ ออกเป็น 3 ประเภท ประกอบไปด้วย 
ทีมโรงงาน ทีมสนับสนุน และทีมอิสระ โดยแต่ล่ะทีมสามารถมีนักแข่งตัวจริงได้สูงสุด 2 คน เริ่มที่
1.Factory หรือ ทีมโรงงาน คือทีมที่เป็นตัวหลักของผู้ผลิตรายนั้นๆ 
และได้รับการสนับสนุนเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี, วิศวกรรม, กำลังคน หรือเม็ดเงินลงทุน 
ซึ่งในทีมแข่งเหล่านี้ก็จะมีนักแข่งที่เป็นแชมป์โลกมามากมายซึ่งเป็นทีมแข่งใหญ่ๆ อย่างทีม Repsol Honda Team
2.Satellite เป็นทีมสนับสนุน ที่ผู้ผลิตจะสนับสนุนชิ้นส่วนบางอย่าง เช่นเฟรมกับเครื่องยนต์ 
และเทคโนโลยีบางส่วน เช่นทีม LCR Honda , MarcVDS Honda
3.CRT หรือ Claiming Rule Teams เป็นทีมอิสระที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องยนต์
ของรถตลาดมาปรับแต่งกับเฟรมรถของตนเองได้ ซึ่งทีมเหล่านี้สามารถร่วมการแข่งขันได้ อย่างทีม 
Go & Fun Honda Gresini (FTR-Honda)
 
สุดยอดทีมผู้ผลิต Repsol Honda ในศึกการแข่งขันรถจักรยานยนต์ทางเรียบสุดยิ่งใหญ่ MotoGP 
สร้างผลงานเหนือคู่แข่งเหมาตำแหน่งแชมป์โลกกวาดเรียบชนะครบทุกประเภท 
ตั้งแต่ นักบิด ทีมแข่ง และค่ายผู้ผลิต ตอกย้ำให้เห็นว่า Honda คือผู้นำแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ของรถมอเตอร์ไซค์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพในวงการ Motorsport โลกสองล้ออย่างแท้จริง
 
 
ทดลองใช้ ระบบ Blockchain ใน MotoGP
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด อย่าง Blockchain 
คือเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง โดยเทคโนโลยี Blockchain 
มีความเป็นไปได้ที่ทาง Dorna จะนำมาช่วยจัดการเรื่องกำหนดกลุ่มผู้รับชมการแข่งขันที่สนาม 
โดยใช้บันทึกข้อมูล Database ขนาดใหญ่ว่าผู้เข้าชมเคยไปชมสนามจริงที่สนามไหนบ้าง 
หรือพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ของการแข่งขัน ซึ่งมันสามารถคำนวณการผลิตสินค้า
และการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมถึงผลกำไรที่มากขึ้นอีกด้วย 
ทั้งนี้เป็นเพียงการเตรียมทดลองใช้งานเทคโนโลยี Blockchain ในการแข่งขันเท่านั้น
 
เคยสงสัยกันบ้างไหมว่ารถแข่ง MotoGP ถึงมีราคาสูงมาก เพราะนี่คือรถจักรยานต์ที่ดีที่สุดในโลก 
หรือเรียกว่า Prototype ที่แต่ละค่ายพัฒนามาเพื่อประชดความเร็วในสนามแข่งเท่านั้น 
ถูกสร้างและประกอบขึ้นแบบ Handmade อัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีที่สุดยอด อย่างชุดเบรคหน้า 
หรือ คาร์บอนดิส ที่สามารถหยุดความเร็ว 300 กิโลเมตร/ชม. ให้เหลือ 0 กิโลเมตร/ชม. 
ในเวลาเพียง 8 วินาที มูลค่าสูงถึง 350,000 บาท และหัวใจสำคัญอย่างครื่องยนต์ 800 - 1,000 cc 
4 สูบ 4 จังหวะ ที่ราคาสูงถึง 3 ล้านไปจนถึง 7-8 ล้านบาท ซึ่ง 1 ฤดูกาลจะใช้ประมาณ 7 เครื่องยนต์
ต่อการแข่งขันโดยราคาตัวแข่งโดยรวมจะอยู่ประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 60-70 ล้านบาท 
ยังไม่รวมค่าค้นคว้าวิจัยและพัฒนารถ สุดยอดเทคโนโลยีที่ประเมินราคาไม่ได้จริงๆ
 
ในการแข่งขันรายการมอเตอร์ไซค์ทางเรียบชิงแชมป์โลก MotoGP รถแข่งที่ใช้ในการแข่งขัน 
ต้องมี cc.ไม่เกินกว่า 1000 cc. และต้องเป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ลูกสูบจำกัดให้มีได้สูงสุด 4 ลูกสูบเท่านั้น 
และขนาดของกระบอกสูบต้องไม่เกินกว่า 81 มม. โดยเครื่องยนต์ V4 ของตัวแข่ง Honda RC213V 
ทำงานแบบ 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยน้ำ โดยเครื่องยนต์สามารถรีดพละกำลังได้สูงสุดมากกว่า 242 แรงม้า 
ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์ 6 สปีดแบบ Racing Reverse พร้อมระบบ Quickshifter 
ซึ่งตัวเครื่องยนต์ยังถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบา และเป็นมิตรต่อนักแข่ง
ช่วยให้เข้าและออกจากโค้งได้อย่างว่องไวและง่ายมากขึ้น
 
 
โครงสร้างรถใน MotoGP จะมีความพิเศษกว่ารถทั่วไป ทั้งด้านความแข็งแรง ความยืดหยุ่น 
และมีน้ำหนักเบา โดยส่วนมากโครงสร้างของรถแข่ง MotoGP เป็นโครงสร้างในรูปแบบหล่อชิ้นเดียว 
โดยมีจุดเชื่อมต่อน้อยมาก เพราะรอยเชื่อมต่อนั้นจะทนต่ออัตราเร่งได้น้อยกว่าการหล่อแบบชิ้นเดียว 
เพราะรถ Production ไม่ได้ใช้อัตราเร่งสูงเป็นระยะเวลานานเท่ากับรถ MotoGP 
ที่ต้องใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงตลอดการแข่งขัน ที่ต้องทนต่ออัตราเร่งได้โดยไม่ฉีกขาดออกจากกัน 
ดังนั้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโครงสร้างในรถแข่ง MotoGP นั้นจะสูงกว่ารถทั่วไป
 
เทคนิคการเข้าโค้งแบบ Hang-on เป็นการเข้าโค้งที่ทำได้เฉพาะในสนามการแข่งขัน 
ไม่สามารถนำมาใช้กับการขับขี่บนถนนสาธารณะได้ ซึ่งเทคนิคการเข้าโค้งแบบ Hang-on 
เป็นการเข้าโค้งที่มีความเร็วสูงเป็นพิเศษ นักแข่งจะต้องถ่วงน้ำหนักตนเองไปด้านในโค้งมากที่สุด 
จนอยู่ในลักษณะ โหนรถ เพื่อการทรงตัวที่ต้องบาล้านซ์กับแรงเหวี่ยง การเข้าโค้งแบบนี้อาจควบคุมรถได้ค่อนข้างยาก
และส่วนใหญ่จะพบในการแข่นขันรถจักรยานยนต์ อย่าง MotoGP หรือ WSBK 
และรายการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบอื่นๆ
 
ตัวรถแข่ง MotoGP ที่จะถูกเซ็ทอัพแตกต่างกันระหว่าง แทร็คแห้ง และ แทร็คเปียก 
ซึ่งในแทร็คเปียกที่มีแอ่งน้ำจากฝนตกยางจะถูกเปลี่ยนเป็น ยางฝน ที่มีการเซาะร่องไว้ตลอดทั้งเส้น
 เพื่อใช้ระบายน้ำที่อยู่บนผิวแทร็คออกจากหน้ายาง ต่อมาระบบเบรกจะใช้จานเหล็ก
เพราะสามารถใช้งานได้กับทุกสภาพอากาศ และการเซ็ทอัพระบบกันสะเทือน เมื่อแทร็คเปียก 
จะมีการปรับตั้งสปริงโช้กทั้งหน้าและหลังให้อ่อนกว่าปกติ เพื่อช่วยให้น้ำหนักตัวรถขณะเบรก
และเร่งกดลงไปที่หน้ายางมากขึ้น รวมถึงเซ็ทความหนืดให้การยืดยุบได้ง่ายและเร็วกว่าเดิม 
สุดท้ายคือการปรับเอนจิ้นแมพหรือโหมดการขับขี่เป็นแบบสำหรับแทร็คฝน 
เพื่อลดความดุดันของเครื่องยนต์ลงให้สามารถขับขี่ในสภาวผิวแทร็คเปียกได้อย่างปลอดภัย 
 
การแข่งขันมอเตอร์ไซค์ทางเรียบชิงแชมป์โลก MotoGP ที่แฟนๆ มอเตอร์สปอร์ตทั่วโลกโลก
ต่างรอคอยและติดตามกันแบบใจจดใจจ่อ รายการที่นักบิดทุกคนใฝ่ฝัน MotoGP 
เป็นการแข่งขันแบบสะสมแต้มเพื่อชิงเแชมป์โลก โดยการแข่งขันมีทั้งหมด 3 รุ่น 
คือ Moto3, Moto2, และ MotoGP แข่งขันโดยการใช้รถมอเตอร์ไซด์สูตรที่แต่ละทีมพัฒนา 
ใช้สำหรับการแข่งโดยเฉพาะ แต่ละสนามจะใช้เวลาการแข่งทั้งหมด 3 วัน ในช่วงสุดสัปดาห์
ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ โดยจะเริ่ม
วันที่ 1 เรียกว่า Practice Day จะเป็นวันสำหรับการซ้อมก่อนการแข่งขันจริง
วันที่ 2 เรียกว่า Qualifying Day วันคัดเลือกลำดับกริกสตาร์ต 
วันที่ 3 เรียกว่า Race Day เป็นรอบการแข่งขันจริง
ปัจจุบันมี เจ้าก้อง#35 สมเกียรติ จันทรา นักบิดดาวรุ่งมาแรงของไทย 
เข้าร่วมการแข่งขัน MotoGP 2019 รุ่น Moto2 ภายใต้สังกัดใหม่ “อิเดมิตสึ ฮอนด้า ทีม เอเชีย” 
ในฐานะตัวแทนนักแข่งหนึ่งเดียวของประเทศไทย
 
 
เจาะลึกเรื่องรถในความแตกต่างระหว่างรถแข่ง Moto3, Moto2 และ MotoGP 
โดยการแข่งขัน MotoGP จะใช้รถมอเตอร์ไซค์สูตร ที่แต่ละทีมพัฒนาใช้สำหรับการแข่งโดยเฉพาะ 
โดยรถแข่งทั้งสามรุ่นนี้ จะมีรายละเอียดต่างกัน รวมไปถึงกฎกติกาที่แตกต่างกันอีกด้วย เริ่มจาก
Moto3 
รถแข่งในรุ่นนี้ใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กระบอกสูบเดี่ยว ความจุ 250 ซีซี สร้างแรงม้าได้ประมาณ 55 แรงม้า 
และมีการจำกัดรอบเครื่องยนต์ไว้ที่ 14,000 RPM ความกว้างกระบอกสูบไม่เกิน 81 mm.
Moto2 
รถแข่งในรุ่นนี้ต้องใช้เครื่องยนต์ แบบ 3 สูบเรียง ขนาด 765 ซีซี 
สร้างแรงม้าได้ 131 แรงม้า
MotoGP 
จุดสูงสุดในการแข่งขันสองล้อ หรือเรียกได้ว่า รถแข่งที่แรงที่สุด! เร็วที่สุด! ด้วยเครื่องยนต์ 4 กระบอกสูบ 
1,000 ซีซี สร้างแรงม้าได้ สูงถึง 260 แรงม้า รอบเครื่องยนต์ถูกจำกัดไว้ที่ 18,000 RPM

ปัจจุบัน เจ้าก้อง#35 สมเกียรติ จันทรา นักบิดดาวรุ่งอนาคตไกลของไทย 
ได้เข้าร่วมศึกความเร็วระดับโลก MotoGP 2019 รุ่น Moto2 ถือเป็นหนึ่งในความภูมิใจของคนไทย 
ที่สร้างผลงานได้โดดเด่นในเวทีระดับโลก ร่วมตามเชียร์เหล่านักบิดไทยให้ไปคว้าชัยกลับมาให้ได้
 
เรื่องง่ายๆ สำหรับคนชื่นชอบการแข่งความเร็ว ที่รู้ไว้แล้วจะดูสนุกมากขึ้น 
กติกาการนับคะแนนของการแข่งขันรถจักรยานยนต์ทางเรียบ MotoGP 
จะเรียงลำดับจากผู้ที่เข้าเส้นชัยเป็นลำดับแรก จะได้รับคะแนนสะสมตามลำดับที่จบการแข่งขัน
โดยแต่ละลำดับมีคะแนนดังนี้ 
ลำดับ 1 = 25 คะแนน 
ลำดับ 2 = 20 คะแนน 
ลำดับ 3 = 16 คะแนน 
ลำดับ 4 = 13 คะแนน 
ลำดับ 5 = 11 คะแนน 
ลำดับ 6 = 10 คะแนน 
ลำดับ 7 = 9 คะแนน 
ลำดับ 8 = 8 คะแนน 
ลำดับ 9 = 7 คะแนน 
ลำดับ 10 = 6 คะแนน 
ลำดับ 11 = 5 คะแนน 
ลำดับ 12 = 4 คะแนน 
ลำดับ 13 = 3 คะแนน 
ลำดับ 14 = 2 คะแนน 
ลำดับ 15 = 1 คะแนน 
ต่ำกว่าลำดับ 15 ไม่ได้คะแนน 
เป็นการให้คะแนนหลังจบการแข่งขัน และจะนับคะแนนสะสมรวมทุกสนามตลอดฤดูกาล 
ใครได้คะแนนสะสมสูงสุดก็รับแชมป์ไปครอง (1 ฤดูกาลมี 19 สนาม)
 
 
ทำความรู้จัก Engine Brake (เอนจิ้นเบรค) ไม่ใช่ระบบหรืออุปกรณ์เสริม 
แต่เป็นการเพิ่มหรือสร้างแรงเฉื่อยในทิศทางตรงกันข้ามที่เกิดจากการฉุดของเครื่องยนต์ 
หรือที่เรียกว่าการหน่วงความเร็วของรถให้ช้าลง เรียกอีกอย่างง่ายๆ ว่าการ “ปิดคันเร่ง” นั้นเอง 
หลังจากการปิดคันเร่งเครื่องยนต์จะเกิดแรงหน่วงและรถจะวิ่งช้าลง การใช้เอนจิ้นเบรคบ่อยๆ นั้น
อาจทำให้ผู้ขับขี่เกิดความเหนื่อยล่าได้แต่ทุกคนสามารถปรับแต่ง Engine Brake Control 
เพื่อช่วยให้ตอบสนองหรือพละกำลังการฉุดของเอนจิ้นเบรคนั้นเบาสุดไปจนถึงแรงที่สุด
เพื่อให้ได้ความเหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ และความสมูทในการขับขี่
 
กฎ Long Lap Penalty คือ กฎเพิ่มระยะทางสนาม โดยการทำเลนพิเศษข้างแทร็ค 
เพื่อลงโทษนักบิดที่ขี่ออกนอกเขตแทร็ก (Track Limit) และกรณีต่างๆ
 เช่น การแซงแบบก้าวร้าว หรอการลัดแทร็คโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งแต่เดิมจะเป็นการลดตำแหน่งลง
ตามลำดับกับความแรงของโทษ เปลี่ยนมาเป็นกติกาใหม่ให้นักบิดวิ่งบนเลนพิเศษเป็นการลงโทษแทน
 เลนพิเศษนี้จะมีการคำนวณมาแล้วว่ามันจะเพิ่มระยะเวลาต่อรอบจากเดิมราวๆ 2 - 4 วินาที
ต่อการเข้าเลนพิเศษหนึ่งครั้ง แต่นักแข่งสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าเลนพิเศษตอนไหน
ภายใน 3 รอบสนามหลังจากโดนโทษ. โดยจะไม่มีผลกระทบอื่นๆ รวมถึงข้อจำกัดของเรซ
 เช่น การเกิด “ธงแดง” ขึ้น และเป็นประโยชน์กับคณะกรรมการช่วยให้ติดตามนักแข่งที่ผิดกฏได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
 
 
วันนี้เราจะมาอัพเดทกติกาใหม่ในการแข่งขันศึกมอเตอร์ไซค์ทางเรียบระดับโลก MotoGP 2019 
โดยกติกาใหม่นี้จะเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นในเรื่องความปลอดภัยระหว่างการสตาร์ทวอร์มเครื่องยนต์ 
ห้ามสตาร์ทเครื่องยนต์ภายใน Pit เด็ดขาด! เพื่อความปลอดภัยของทีมช่าง นักแข่ง 
และบุคลากรต่างๆ ที่อยู่ใน Pit ต้องนำรถออกมาด้านนอก Pit เท่านั้น 
ถึงจะอนุญาตให้สตาร์ทเครื่องยนต์ได้ เพื่อความปลอดภัยและลดการก่อประกายไฟ
ที่เกิดจากเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ พร้อมรักษาสิ่งแวดล้อม ป้องกันมลพิษทางด้านอากาศและทางเสียงอีกด้วย
 
กฎข้อบังคับของ FIM หรือ สหพันธ์จักรยานยนต์ระหว่างประเทศ นั้นบังคับไว้ว่า
รถที่ใช่ในการแข่งขัน MotoGP จะต้องมีน้ำหนักของตัวรถเมื่อรวมกับของเหลว
ไม่น้อยกว่า 157 กิโลกรัมขึ้นไป อย่าง รถแข่งเครื่องยนต์ 1,000 cc 
น้ำหนักจะอยู่ราวๆ 160 กิโลกรัม แต่ด้วยโครงสร้างของรถที่มีน้ำหนักเบา และไม่ถูกติดตั้งออฟชั่น 
ที่ไม่จำเป็นในสนามแข่งขัน อย่าง ระบบไฟส่องสว่าง , หน้าจอแสดงผล , 
ระบบ ABS เหมือนรถทั่วไปในคลาสเดียวกัน น้ำหนักรถแข่ง MotoGP 
จึงมีน้ำหนักเบากว่ารถทั่วไปตามท้องถนนอยู่มาก
 
 
เทคนิคการเข้าโค้ง Counter Steering คือ เทคนิคการเลี้ยวไปในทางตรงกันข้าม 
หรือ การผลักแฮนด์บาร์ ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้งที่เราจะเลี้ยวนั่นเอง 
เช่น ถ้าเราจะเลี้ยวซ้าย ต้องหักแฮนด์ไปทางขวา แต่ถ้าจะเลี้ยวขวา ต้องหักแฮนด์ไปทางซ้ายแทน 
เป็นการบังคับรถให้เกิดสภาพเอียงตัวในขณะเข้าโค้ง ทำให้วงเลี้ยวที่เกิดขึ้นมีระยะแคบลงกว่าเดิม 
และเข้าโค้งได้ง่ายขึ้นและเร็วมากขึ้น แต่ไม่ควรหักแฮนด์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทางเลี้ยวมากเกินไป 
หรือค้างไว้นาน อาจทำให้รถเอียงลงเรื่อยๆ จนอาจจะล้มได้ ซึ่งการใช้เทคนิค 
นี้เหมาะกับการเข้าโค้งด้วยความเร็วที่มากกว่าปกติ ไม่เหมาะกับการเข้าโค้งที่ใช้ความเร็วต่ำๆ
 
 
 
 
 
มาอัปเดตกฎและกติกาใหม่ล่าสุดของ MotoGP™ กันหน่อยดีกว่าว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเข้ามาบ้าง
งานนี้รับรองว่าการรับชมศึก MotoGP™ ในครั้งต่อไปของคุณจะมันส์และสนุกขึ้นอย่างแน่นอน
 
 
 
รู้หรือไม่ ?
Marc Márquez คือแชมป์ MotoGP™ อายุน้อยที่สุดในโลกด้วยวัยเพียง 20 ปี 63 วันเท่านั้น
หลังจากขยับขึ้นมาแข่งในรุ่น MotoGP™ เป็นครั้งแรกเมื่อฤดูกาล 2013 
เขาก็สามารถผงาดขึ้นคว้าแชมป์กับ Repsol Honda Team ได้ทันที 
ซึ่งถือได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นในการคว้าแชมป์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจุบันของเจ้าตัวเลยก็ว่าได้
 
 
แน่นอนว่าการแข่งขันกีฬาทางความเร็วโดยเฉพาะ MotoGP™ 
นั้นมีความอันตรายและเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุสูงมาก เพราะฉะนั้นนักแข่ง
จึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันที่จะช่วยลดความเสียหายต่อร่างกายหรือชีวิตให้มากที่สุด 
ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันหลักๆ ของนักแข่งก็จะมีอยู่ 5 อย่างด้วยกันดังนี้

หมวกกันน็อค : ออกแบบให้ลดแรงเสียดทานมากที่สุด น้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่งมาก 
มีการฟิตตี้งโฟมด้านในให้เข้ากับรูปศรีษะของนักแข่งเป็นพิเศษ 
และมักจะมีดีไซน์ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวนักแข่ง

ชุดหนัง : มีหนังหลายแบบซึ่งมีคุณลักษณะในการใช้งานที่ต่างกันแต่ต้องมีความยืดหยุ่นสูง 
มีการ์ดป้องกันตามบริเวณ อก หลัง หัวไหล่ หัวเข่า ข้อศอก และตั้งแต่ปี 2018 ทาง Dorna 
ได้ออกข้อบังคับให้นักแข่ง MotoGP™, Moto2 และ Moto3 
ทุกคนต้องใส่ชุดที่ติดตั้งระบบ Airbag เพื่อความปลอดภัยจากแรงกระแทก

ถุงมือ : เป็นหนังแบบข้อยาว ในฝ่ามือมีจุดจับที่กระชับกับคันเร่ง ทนต่อการเสียดสีได้ดี 
มีการ์ดตรงข้อมือและข้อต่อนิ้วและบางครั้งมีการเย็บให้เหมาะกับรูปร่างของมือและนิ้วเป็นการเฉพาะอีกด้วย

รองเท้า : มีความยืดหยุ่นและแข็งแรง บริเวณพื้นรองเท้ามียางกันลื่นและออกแบบให้สัมผัสเวลาเข้าเกียร์ง่ายขึ้น

การ์ดป้องกัน : กระจายอยู่หลายจุดเช่นบริเวณหลังและหน้าอก หัวไหล่ ข้อศอก หัวเข่า 
ช่วยผ่อนแรงกระแทกจากภายนอกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
 
รู้กันหรือยาง ?
“ยาง” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลกับการแพ้ชนะในการแข่งขันเลยก็ว่าได้โดยเฉพาะใน MotoGP™ 
ซึ่งยางนั้นก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ที่มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
1.Power Slick จุดเด่นคือยึดเกาะสนามได้ดีแต่ไม่สามารถใช้ได้ตอนที่ฝนตก 
โดยจะมีการแบ่งความอ่อน-แข็งของยางไปอีก 3 ระดับ
🏍 Power Slick Soft : ขอบยางสีขาว เหมาะกับพื้นสนามที่เย็น
🏍 Power Slick Medium : ขอบยางสีเทา เหมาะกับทุกพื้นสนาม
🏍 Power Slick Hard : ขอบสีเหลือง เนื้อยางแข็งที่สุด

2. Power Rain เหมาะกับตอนที่ฝนตกและสนามเปียกแบ่งออกเป็น 2 ระดับ 
🏍 Power Rain Soft : ขอบยางสีฟ้า เหมาะกับตอนฝนตกหรือฝนเพิ่งหยุดตก
🏍 Power Rain Hard : ขอบยางสีเทา เหมาะกับพื้นเปียกเล็กน้อย

นี่ก็ถือว่าเป็นอีกรายละเอียดหนึ่งที่บรรดาทีมงานและนักแข่งระดับโลก
ต่างให้ความสำคัญเพื่อให้ผลงานนั้นออกมาดีที่สุด 
 
 
 
 
ขอขอบคุณ ที่มา : Facebook Race to The Dream






สงวนลิขสิทธิ์ © 2022 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญมอเตอร์(วิเชียรบุรี) www.jrmotor.com
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญมอเตอร์(วิเชียรบุรี) สำนักงานใหญ่
เลขที่ 16 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ 67130
โทรศัพท์ 056-754455 โทรสาร 056-754466 มือถือ 086-4501732 , 061-8303132
E-mail : jrmotor@gmail.com วันเวลาทำการ จันทร์ - เสาร์ เวลา 8.00 น. - 17.00 น.

เงื่อนไขการใช้บริการ I รับเรื่องร้องเรียน I นโยบายความเป็นส่วนตัว